บทที่2
การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
สาระสำคัญ
การประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์ขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มีทั้งศาสตร์และศิลป์ คือ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการทำงานของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และต้องวางแผนลำดับขั้นตอนการปรพกอบเครื่อง เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเพราะหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น อาจต้องถอดอุปกรณืเข้าออกหลายครั้งซึ้งอาจทำให้อุปกรณ์นั้นเสียหายได้
สมรรถนะประจำหน่วย
ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์และติดตั้งโปรแกรมตามลักษณะงาน
เรื่องที่จะศึกษา
1.การเตรียมความพร้อมก่อนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
2.ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
3.การทดสอบเครื่องคอมพิวเตอร์
4.ปัญหาและแนวทางการแก้ไข
5.ขั้นตอนการติดตังโปรแกรมตามลักษณะงาน
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.เลือกใช้เครื่องมือในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
2.สามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ตามขั้นตอนได้
3.ทดสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
4.แก้ปัญหาและแนวทางการแก้ไขได้
5.ติดตั้งโปรแกรมตามลักษณะงานได้
การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีความสำคัญมากอีกอย่างหนึ่งในการใช้งานคอมพิวเตอร์ บางจุดในการประกอบอุปกรณ์ไม่สามารถเอาแน่นอนได้ เนื่องจากตัวอุปกรณ์และชิ้นส่วนของสินค้า แต่ละรุ่นที่ผลิตออกมา ดีไซน์การใช้งานมาต่างกันและพัฒนาขึ้นไปเรื่อย ๆ วิธีนี้การบางขั้นตอนอาจจะ ใช้ไม่ได้กับคอมพิวเตอร์บางรุ่น
ลำดับขั้นตอนในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
1. ประกอบซีพียูและแรมลงบนเมนบอร์ด
2. ติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับตัวเครื่อง
3. ต่อสายสัญญาณต่างๆ ภายในเครื่อง
4. ติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ และไดร์ฟ ซีดีรอม
5. ติดตั้งการ์ดต่าง ๆ
6. ปิดเคส
7. ต่ออุปกรณ์ภายนอก
8 . ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม
เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
- ไขควงปากแบน หรือไขควงแฉก
- ตัวคีบสกรู ใช้คีบน็อตใส่ในช่องเกลียว สำหรับขันน็อตในที่แคบที่ไม่สามารถใช้มือจับได้
- ตัวถอดชิพ ใช้ถอดชิพใน CPU ที่เป็นเครื่องรุ่นเก่า ๆ
- หลอดเก็บสกรูและจัมเปอร์ ใช้สำหรับเก็บสกรูและจัมเปอร์ที่เหลือจากการประกอบเครื่องใว้ใช้ในยามที่จำเป็น
- ปากคีบ สำหรับคีบจับสกรูหรือจับอุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ
- บล็อคหกเหลี่ยมขนาดเล็ก ใช้สำหรับขันน็อตหกเหลี่ยมตัวเมียกับแผงเหล็กของเคส
- หัวมะเฟือง สำหรับขันน็อตพิเศษแบบหกเหลี่ยมสำหรับอุปกรณ์บางประเภทที่ผู้ผลิต
อุปกรณ์ไม่ต้องการให้มืออาชีพมาแกะซ่อมเอง
1. การประกอบ CPU และ RAM ลงเมนบอร์ด
การติดตั้ง CPU
1. เปิดคู่มือของเมนบอร์ด หาตำแหน่งของ Socket สำหรับติดตั้ง CPU
2. เมื่อพบตำแหน่งแล้วยกก้าน Socket ออ
3. วาง CPU บน Socket สังเกตว่าหากตำแหน่งขาตรง จะสามารถวาง CPU ลงบนตำแหน่ง Socket โดยไม่เอียง และไม่ต้องออกแรงกดเลย
4. กดก้านล็อค CPU ลงเพื่อยึด CPU ให้แน่นอยู่กับที่
5. นำฮีทซิงค์ติดตั้งบนตัว CPU
6. วางขายึดฮีทซิงค์ลงบนเมนบอร์ด กดลงไปตรง ๆ จนขายึดล็อคเข้ากับกรอบ
7. โยกคันล็อคฮีทซิงค์ด้านบน 2 อันในทิศทางตรงกันข้ามจนสุด
8.เสียบสายพัดลมระบายความร้อนโดยหาตำแหน่งSocketบนเมนบอร์ดให้เมนบอร์ดจ่ายไฟให้พัดลมทำงาน
หมายเหตุ
ฮีทซิงค์ เป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในชุดระบายความร้อน มีพัดลมระบายความร้อน (CPU-Fan) อยู่ชุดระบายความร้อนนี้มากับ CPU ที่คุณซื้อ (ตรวจดูว่าฮีทซิงค์ด้านที่ติดกับ CPU มีแถบกาวสารช่วย ระบายความร้อนติดอยู่หรือไม่ถ้ามีให้ลอกเฉพาะแผ่นป้องกันแถบกาวออกให้ใช้ความระมัดระวัง วาง ฮีทซิงค์ที่มีพัดลมติดให้ตรงตำแหน่งชิพของ CPU หากไม่มีแถบกาวให้ใช้ซิลิโคนสำหรับทาฮีทซิงค์ที่ มีลักษณะเป็นครีมขาว แต้มลงบน CPU เพื่อให้การระบายความร้อนเป็นไปอย่างดี